วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์        ชั้นประถมศึกษาปีที่  4        เวลา   160   ชั่วโมง

                                ศึกษาจำนวนนับที่มากกว่า   100,000   การบอกจำนวนการอ่าน    และการเขียนตัวหนังสือ
ตัวเลขฮินดูอารบิก     ตัวเลขแทนจำนวนชื่อหลัก    ค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก     การเขียนในรูปกระจาย
การเรียงลำดับจำนวน    การเปรียบเทียบจำนวน  การบวก  การลบ  การคูณ  การหารจำนวนนับและโจทย์ปัญหา  การบวก   การลบจำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มากกว่าสองหลักกับจำนวนที่มากกว่าสองหลักการหารที่ตัวหารไม่เกินสามหลัก การบวก ลบคูณ หารระคน โจทย์ปัญหา เศษส่วน และการบวก ลบ เศษส่วน การอ่านและ การเขียนเศษส่วน   การเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน  การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบการบวก      การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันทศนิยม   ความหมาย     การอ่านและการเขียนทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง การเปรียบเทียบทศนิยม การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ การวัดความยาว  การวัดความยาว  (กิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร และวา)   การเลือกเครื่องวัดและหน่วยการวัดความยาว  การคะเนความยาว  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว  มาตราส่วน โจทย์ปัญหาและสถานการณ์  การชั่ง  การชั่ง ( เมตริกตัน  กิโลกรัม และขีด )  การเลือกเครื่องชั่งและหน่วยชั่ง  การคะเนน้ำหนัก  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการชั่ง   โจทย์ปัญหาและสถานการณ์   การตวง  การตวง ( ลูกบาศก์เมตร  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ลิตร  มิลลิลิตร และถัง )  การเลือกหน่วยการตวง  การคะเนปริมาตรหรือความจุ  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการตวง  โจทย์ปัญหาและสถานการณ์  เงิน  การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุดและการอ่าน การเปรียบเทียบจำนวนเงินและการแลกเงิน รายรับรายจ่าย โจทย์ปัญหาและสถานการณ์   เวลา  การบอกเวลา การเขียนการบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน การบอกช่วงเวลา การอ่านและการบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ระบุเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างนาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน และปี โจทย์ปัญหาและสถานการณ์   รูปทรงเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต   ส่วนของระนาบ จุด
           ส่วนของเส้นตรง เส้นตรง และรังสี มุม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นทแยงมุม เส้นขนาน ส่วนประกอบของรูปวงกลม และสมบัติพื้นฐานของรูปวงกลม รูปที่มีแกนสมมาตร การประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปวงเรขาคณิต    แบบรูปและความสัมพันธ์   แบบของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่าๆกัน แบบรูปของรูปเรขาคณิตและแบบรูปอื่นๆ การบอกความสัมพันธ์หรือการเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ของสถานการณ์หรือปัญหา  สถิติและความน่าจะเป็น การอ่านแผนภูมิรูปภาพ  แผนภูมิแท่ง และตาราง การเก็บรวบรวมข้อมูลการเขียนแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง ความหมายและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน  อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น  และไม่เกิดขึ้นย่างแน่นอน
การจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง 
ทดลอง   สรุป   รายงาน   เพื่อพัฒนาทักษะ /  กระบวนการในการคิดคำนวณ   การแก้ปัญหา     การให้เหตุผล 
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ 
                             เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ  รอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง
                               

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวเรื่องคณิตระดับประถม



คำอธิบายรายวิชา คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
   รายวิชา คณิตศาสตร์ประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
จำนวนเวลา 160 ชั่วโมง
ศึกษา ฝีกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้
                จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 การบอกจำนวน การอ่านและการเขียนจำนวน ชื่อหลักค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก การเขียนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบจำนวน การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ การเรียงลำดับจำนวน
                 การบวก การลบ การคูณ การหารจำนวน และโจทย์ปัญหา การบวก การลบจำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลัก กับจำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มีมากกว่าสองหลักกับจำนวนที่มีมากกว่าสองหลัก การหารที่ตัวหารไม่เกินสาม การบวก ลบ คูณ หารระคน โจทย์ปัญหา
                 เศษส่วน และการบวก การลบเศษส่วน ความหมาย การอ่านและการเขียนเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ การบวกการลบ เศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
                 ทศนิยม ความหมาย การอ่านและการเขียนทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง การเปรียบเทียบทศนิยม การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ
                 การวัดความยาว การวัดความยาว ( กิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร และวา ) การเลือกเครื่องวัดและหน่วยการวัดความยาว การคะเนความยาว ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว มาตราส่วน  โจทย์ปัญหาสถานการณ์
                  การหาพื้นที่ การหาพื้นที่จากการนับตาราง การหาพื้นที่โดยประมาณ จากการนับตาราง การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก โจทย์ปัญหาและสถานการณ์
                  การชั่ง การชั่ง ( เมตริกตัน กิโลกรัม กรัม และขีด ) การเลือกเครื่องชั่งและหน่วยการชั่ง การคะเนน้ำหนัก ความสันพันธ์ระหว่างหน่วยการชั่ง โจทย์ปัญหาและสถานการณ์
                  การตวง การตวง ( ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลิตร มิลลิลิตร และถัง) การเลือกหน่วยการตวง การคะเนปริมาตรหรือความจุ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการตวง โจทย์ปัญหาและสถานการณ์
                  เงิน การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุดและการอ่าน การเปรียบเทียบจำนวนเงินและการแลกเงิน
บันทึกรายรับรายจ่าย โจทย์ปัญหาและสถานการณ์
                  เวลา การบอกเวลา การเขียนบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน การบอกช่วงเวลา การอ่านและการบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ระบุเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างนาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือนและปี โจทย์ปัญหาและสถานการณ์

                 รูปเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต ส่วนของระนาบ จุด ส่วนของเส้นตรง เส้นตรงและรังสี มุม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นทแยงมุม เส้นขนาน ส่วนประกอบของรูปวงกลมและสมบัติพื้นฐานของรูปวงกลม รูปที่มีแกนสมมาตร การประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิต
แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่าๆกัน แบบรูปของรูปเรขาคณิตและแบบรูปอื่นๆ การบอกความสัมพันธ์หรือการเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ของสถานการณ์หรือปัญหา

               สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น การอ่านแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง และตารางการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเขียนแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ และไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
               การจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ / กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการ
ที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และเชื่อมั่นในตนเอง
              การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการหลากหลายตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหา และทักษะที่ต้องการวัด

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 : เรื่องรับ จ่ายอย่างรู้ค่าพาชีวิตให้พอเพียง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1 อธิบายข้อมูลการใช้จ่ายเงินของตนเองและครอบครัวในชีวิตประจำวันได้
2 วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ - รายจ่ายของตนเอง
3 เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการจัดทำรายรับ - รายจ่ายประจำวันของตนเอง
สาระการเรียนรู้
การวางแผนการใช้จ่ายเงินของตนเอง ตามหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงประโยชน์
การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1 ความพอประมาณ
นักเรียนรู้สภาพรายรับ-รายจ่ายของตนเองเพื่อจะประมาณตนได้ถูกต้อง
2 ความมีเหตุมีผล
นักเรียนรู้ความจำเป็นในการซื้อสิ่งของและเครื่องบริโภคว่าเหมาะสมกับฐานะของตนเองหรือไม่
3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
นักเรียนเห็นความสำคัญของการออมทำให้ชีวิตมีความสุขในภายหน้า
4 เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)
การทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายสามารถลดค่าใช้จ่าย
5 เงื่อนไขคุณธรรม
การประหยัด มีวินัยในการออม มีวินัยในการใช้เงิน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1 นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับรายรับและรายจ่าย ภายในครอบครัวของนักเรียนโดยใช้
คำถามต่อไปนี้
- การใช้จ่ายสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว
- นักเรียนคิดว่าจะทำอย่างไรให้การใช้จ่ายของตนเองและครอบครัวมีความเหมาะสมกับ
สภาพของตนเอง
ขั้นให้ประสบการณ์
1 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 5 คน
2 ศึกษาตัวอย่างการบันทึกรายรับ รายจ่าย
3 นักเรียนอภิปรายและวิเคราะห์ในประเด็นต่อไปนี้
3.1 รายการที่มีความจำเป็นเรียงจากมากไปหาน้อย
3.2 รูปแบบการบันทึกมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
4 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานการอภิปรายในกลุ่มของตนเอง
5 ตัวแทนนักเรียนในแต่ละกลุ่มนำผลการอภิปรายมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
6 นักเรียนและครูช่วยกันสรุปรายการที่มีความจำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินชีวิต
7 นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ รายจ่ายของตนเองใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
8 นักเรียนแลกเปลี่ยนบันทึกรายรับ รายจ่ายของเพื่อนในกลุ่มเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
9 นักเรียนร่วมกันอภิปรายประโยชน์และความจำเป็นของรายการในบันทึกรายรับ รายจ่ายของ
เพื่อนในกลุ่ม
10 นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ รายจ่ายของตนเองโดยคำนึงถึงประโยชน์ และความมีเหตุผลในการ
ใช้จ่าย
11 ให้นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เรื่องการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเพื่อเป็นองค์ความรู้กับ
นักเรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นสรุป
นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความจำเป็นในการจัดทำแบบบันทึกรายรับ- รายจ่ายในชีวิตประจำวัน
ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
สื่อ
1. ตัวอย่างการบันทึกรายรับ รายจ่าย
2. แบบบันทึกรายรับ รายจ่าย
3. ใบความรู้เรื่องการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย
แหล่งการเรียนรู้
องค์กรในชุมชน เช่น สหกรณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มทอผ้า ฯลฯ
การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล
2 สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรม การอภิปราย หรือถาม - ตอบ
3 ตรวจแบบบันทึก
เครื่องมือวัด
1 แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2. แบบตรวจการบันทึก
ช่วงชั้นที่ 2 - 32
3. เกณฑ์การวัด
11 – 12 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดี
9 – 10 คะแนน พอใช้
ต่ำกว่า 8 คะแนน ปรับปรุง
ได้ระดับพอใช้ขึ้นไปถือว่า ผ่าน